ความหมายของระบบ

                                      ความหมายของระบบ


ความหมายของ “ระบบ”

ระบบ หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือสิ่งต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งเกิดขึ้นโดยทางธรรมชาติ

ความสำคัญของระบบ

ระบบมีความสำคัญดังนี้
• การทำงานอย่างเป็นระบบเป็นการจัดสิ่งต่างๆ ในการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นแผนเพื่อป้องกันความสับสน อามมีการออกกฎหมายในการทำงานเพื่อขจัดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงาน
• การจัดระบบเอื้อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน
• ระบบจะช่วยในการทำงานง่ายขึ้นเป็นการประหยัดเวลาและงบประมาณ
• การทำงานจะเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


องค์ประกอบของระบบ

ภายในระบบหนึ่งสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
1. ข้อมูลเป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือ การป้อนวัตถุดิบ
2. กระบวนการเป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลงรวมถึงการประเมินผลด้วย

ระบบใหญ่และระบบย่อย

ระบบจะมีความหมายที่กว้างขวางและมีองค์ประกอบย่อยเนื่องจากระบบจะเกิดขึ้นได้จากผลรวมของส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวและการทำงานร่วมกันต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่ในส่วนรวมโดยอาจเป็นการให้ผลที่ดีขึ้นหรือเป็นผลในทางตรงกันข้ามได้



การจัดระบบการสอน

การจัดระบบการสอนจะมีความหมายสำคัญ2ประการ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการสอนและการนำแผนนั้นไปใช้ได้แก่
1. เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนการสอนที่มีการจัดให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันจุดมุ่งหมายสำคัญของปฏิสัมพันธ์คือการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2. เรื่องของวิธีการเฉพาะในกอรออกแบบระบบการสอน โดยจะประกอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบระบบการสอน โดยจะประกอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบการว่างแผนการนำไปใช้ และ การประเมินผล วิธีการนี้สามารถทำให้มีระบบการสอนที่มีการจัดทรัพย์กรบุคคลและสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีการศึกษาในการออกแบบระบบการสอน

การนำเทคโนโลยีของการสอนมาใช้การจัดระบบการสอนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน ย่อมต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อออกแบบการสอนขึ้นมาใช้โดยในกระบวนการของการออกแบบการสอนจะต้องประกอบด้วยพื้นฐานสำคัญ 4 ประการคือ
1. ผู้เรียน โดยการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
2. วัตถุประสงค์โดยตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอน
3. วิธีการและกิจกรรม โดยการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้างเพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
4. การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้

กระบวนการออกแบบระบบการสอน

กระบวนการออกแบบระบบการสอนมีอยู่ 5 ขั้นตอนคือ
การวิเคราะห์ ขั้นตอนแรกผู้ออกแบบจำเป็นต้องทำในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การวิเคราะห์ โดยมี 3 ส่วนได้แก่ วิเคราะห์ความจำเป็น วิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์การสอน เพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องวางแนวทางในการออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ได้แก่
• วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนคืออะไร
• ตัวบ่งชี้ว่าการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คืออะไร
• ต้องใช้วิธีและกลยุทธ์ใดบ้างในการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
• เนื้อหาบทเรียนควรมีอะไรบ้าง จะแบ่งย่อยหัวข้อและลำดับการนำเสนอเนื้อหาหรือวิธีการทำงานอย่างไรเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุด
• ควรใช้สื่อและเทคโนโลยีใดบ้างมาช่วยเสริมการเรียนรู้
• มีวิธีการส่งผ่านเนื้อหาบทเรียนอย่างไรบ้างที่จะได้ผลคุ้มค่าที่สุด
• มีวิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร
จาก 7 แนวทางจะช่วยให้นักออกแบบสามารถสังเคราะห์ระบบการเรียนการสอนเพื่อสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาที่ระบุไว้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความจำเป็นได้

การพัฒนา ผู้ออกแบบระบบการสอนจะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับนักเทคโนโลยีการศึกษาในการผลิตสื่อทั้งวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามที่ออกแบบไว้ รวมถึงประสานงานกับผู้สอนเพื่อว่างแผนและเขียนแผนการสอน คู่มือการสอน คู่มือการเรียน ข้อสอบ และแบบประเมิน โดยผู้ออกแบบต้องตรวจสอบว่าสิ่งที่ผลิตออกมานั้นมีคุณภาพดีและสามารถใช้ในการสอนและการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การดำเนินการ เป็นการนำระบบการสอนที่ออกแบบไว้มาใช้ในการเรียนการสอนในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบควรจะอธิบายวิธีการใช้ระบบการสอนที่ออกแบบไว้แก่ผู้สอนอย่างละเอียดพร้อมจัดทำคู่มือประกอบด้วยเพื่อให้ผู้สอนสามารถดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น

การประเมิน การประเมินนี้จะเป็นในลักษณะของการประเมินสรุปผลโดยเป็นการประเมินประสิทธิภาพของระบบการสอนโดยตรงในส่วนของผลกระทบของเนื้อหาบทเรียน สื่อการเรียนการสอน และวิธีการสอน

แบบจำลองระบบออกแบบการสอน

แบบจำลองระบบการออกแบบการสอนของเคมพ์
เคมพ์แบ่งขั้นตอนการพิจารณาการจัดระบบการสอนเป็นสาระสำคัญ 10 ประการ คือ
1. ความต้องการในการเรียน จุกมุ่งหมายในการสอน สิ่งสำคัญ/ข้อจำกัด
2. หัวข้อเรื่อง งาน จุดประสงค์ทั่วไป
3. ลักษณะของผู้เรียน
4. เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์งาน
5. วัตถุประสงค์ของการเรียน
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. ทรัพยากรในการสอน
8. บริการสนับสนุน
9. การประเมินการเรียน
10. การทดสอบก่อนการเรียน
และจะมีการประเมิน 2 ลักษณะคือ การประเมินขณะสอน และการประเมินรวบยอด แต่ระบบนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ คือ การที่ไม่มีลักษณะเฉพาะของบางขั้นตอน เช่น การตั้งวัตถุประสงค์ และระบบการสอนนี้ยังให้ความสนใจต่อการวิเคราะห์การสอนน้อยมาก แต่มีข้อดีคือ มีขั้นตอนของการระบุกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ และการเรียนแบบอิสระ

แบบจำลองระบบการออกแบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลี
มีการแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 10 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์
2. การกำหนดเนื้อหา
3. การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
4. การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน
4.1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยสมบูรณ์ทั้งหมด
4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้หรือแบบไต่ถาม
5. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
6. การกำหนดเวลาเรียน
7. การจัดสถานที่เรียน จึงควรมีสถานที่หรือห้องเรียนในลักษณะต่างกัน 3 ขนาด คือ
7.1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สอนได้ครั้งละ 50-300 คน
7.2 ห้องเรียนขนาดเล็ก สอนแบบกลุ่มย่อยหรือการจัดกลุ่ม
7.3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เรียนตามลำพังเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนรายบุคคล
8. การเลือกสรรทรัพยากร แบ่งได้ 5 ประเภท คือ
8.1 สื่อบุคคลและของจริง
8.2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย
8.3 วัสดุและอุปกรณ์เคริองเสียง
8.4 สิ่งพิมพ์
8.5 วัสดุที่ใช้แสดง
9. การประเมินสมรรถนะ เป็นการประเมินความสามารถและพฤติกรรมของผู้เรียน
การวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบสอนให้มีประสิทธิภาพ